Hyper-V | การตั้งค่า Internal Virtual Switch

What virtual Switch is

ในระบบ virtualization คือการจำลอง Hardware ขึ้นมา หรือที่เรียกว่า Software Define Hardware ดังนั้น Virtual Switch จึงไม่ใช่ Hardware จริงๆ แต่จะเป็นการจำลอง Network Adapter ขึ้นมาเพื่อใช้งานร่วมกับ Virtual Machine ทำให้ Virtual Machine สามรถเชื่อมต่อกับเครืองข่ายอื่นๆได้

How many type of Virtual Switch?

Virtual Switch ที่ใช้งานบน Hyper-V จะประกอบด้วย 3 ประเภท และ 1 Default ขออธิบายรายละเอียดคร่าวๆดังต่อไปนี้

  1. Default Switch คือ Internal Switch ชนิดหนึ่ง แตกต่างจากปกติคือเป็นการทำ NAT (Network Address Translation) เพื่อให้ Virtual Machine สามารถเชื่อมต่อ Internet ผ่าน Physical Device ตัวเดียวกันกับ Host Machine
  2. External Switch คือ การทำ Bridge Network จาก Physical Device ทำให้ Virtual Machine ได้รับ IP Address จาก Router โดยตรงและสามารถเชื่อมต่อเครื่อข่ายเดียว Host Machine
  3. Internal Switch คือ Virtual Switch ที่เป็นภายในระหว่างเครื่อง Host Machine และ เครื่อง Guest Machine แต่ Switch นี้จะไม่สามารถออกสู่ภายนอกได้
  4. Private Switch คือ Switch ที่อยู่ภายในเครื่อง Guest Machine เท่านั้น เครื่องข่ายที่อยู่นอก Guest Machine จะไม่สามารถเชื่อมต่อได้

การตั้งค่า Internal Virtual Switch

  1. เปิดโปรแกรม Hyper-V ขึ้นมาแล้วไปที่ Menu ที่ชื่อว่า Virtual Switch Manager ซึ่งจะอยู่ทางด้านขวามือ ตามภาพด้านล่าง
  2. หลังจาก Click ที่ Virtual Switch Manager แล้วจะเปิด Popup Windows ขึ้นมา

    Virtual Switches คือ ส่วนที่แสดง Virtual Switch ที่มีทั้งหมด เมื่อ Click ที่ Virtual Switch จึงจะสามารถเข้าแก้ไขการตั้งค่าต่างๆของ Virtual Switch ตัวนั้นๆได้
    Global Network Settings คือ ส่วนของการระบุช่วง MAC Address ให้กับ Virtual Switch
    New virtual network switch คือ ส่วนที่ใช้สำหรับสร้าง Virtual Switch ขึ้นมาใหม่
  3. Click ที่ New virtual network switch และเลือก What type of virtual switch do you want to create ? เป็น internal
  4. Click ที่ Create Virtual Switch หลัวจากนั้นกรอกข้อมูล เช่น ชื่อ รายละเอียด เป็นต้น ดูการตั้งค่าตามภาพด้านล่าง หลังจากนั้นกดปุ่ม Apply ตามด้วยปุ่ม OK
  5. เสร็จการสร้าง Internal Virtual Switch

How to connect Internal Virtual Switch?

หลังจากที่สร้าง Internal Virtual Switch เสร็จแล้วจะได้ Network Adapter เมื่อต้องการเชื่อมต่อ Guest Machine กับ Internal Virtual Switch นั้นจะต้องทำการตั้งค่า IP Address ของเครื่อง Guest Machine ให้อยู่ในเครื่องข่ายเดียวกัน สามารถตรวจสอบเครื่องข่ายของ Internal Virtual Switch ได้ดังนี้

  1. Click ขวาที่ icon ของ Network Adapter
  2. Click ที่ Status
  3. Click ที่ Detail สังเกตุ IP Address และ Subnet Mask
  4. ในขั้นตอนนี้จะได้ IP Address และ Subnet Mask ของเครื่องข่าย Internal Virtual Switch ถ้าต้องการเชื่อมต่อ Guest Machine เพียงตั้งค่า Network ของ Guest Machine ให้อยู่ในเครือข่ายเดียวกับ Internal Virtual Switch ก็จะสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเดียวกันได้แล้ว
    การคำนวณ IP Address และ Subnet Mask เบื้องต้น
    IP Address : 169.254.1.178
    Subnet Mask : 255.255.0.0
    จาก IP Address และ Subnet Mask จะได้รูปแบบ IP Address ดังนี้
    IP Address : 169.254.1.178/16
    เลข 16 มาจาก Subnet Mask : 255.255.0.0 แปลงเป็นเลขชุดฐาน 2 จะได้ 11111111.11111111.00000000.00000000 มีเลข 1 ทั้งหมด 16 ตัว
    IP Address ที่สามารถใช้ในเครื่องข่ายนี้คือ
    169.254.1.1/16 – 169.254.254.254/16
  5. ให้นำ IP Address ที่อยู่ช่วงเดียวกัน ไปตั้งค่าใน Guest Machine ก็จะสามารถเชื่อมต่อเครื่องข่ายเดียวกันได้แล้ว

ตัวอย่างการใช้งาน Internal Virtual Switch

หลังจากที่ได้ทำการสร้าง Internal Virtual Switch ชื่อว่า Do Any Tech Virtual Switch เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้จะเป็นการนำเสนอตัวอย่างการใช้งานโดยจะสาธิตการติดตั้ง Guest Machine ด้วย CentOS 8

หลังจากติดตั้ง CentOS 8 บน Hyper-V แล้ว ให้ตรวจสอบรายละเอียดของ Hardware ดังนี้

  1. เปิดโปรแกรม Hyper-V จะพบ Virtual Machine ชื่อ DoAnyTechCentOS8
  2. Click ขวาที่ Virtual Machine แล้ว Click ที่ Settings
  3. จะมี Popup Windows ขึ้นมาและมีรายละเอียดของการตั้งค่าต่างๆแสดงอยู่ทางด้านซ้ายมือ

    Network Adapter คือส่วนแสดงรายละเอียด Network Device ของ Guest Machine
  4. Click ที่ Add Hardware จากทางขวามือ ให้เลือก Network Adapter จากนั้นกด Add
  5. Click เลือก Virtual Switch เป็น Do Any Tech Virtual Switch จากนั้นกดปุ่ม OK เสร็จสิ้นการตั้งค่าในส่วน Hardware
  6. ตั้งค่า Virtual Machine ให้ Click ขวาที่ DoAnyTechCentOS8 จากนั้นกด Start

    ถ้ามี Popup Automatic Checkpoint Detected ให้กด Continue
  7. หลังจาก Start เสร็จแล้วให้ Click ขวา เลือกเมนู Connect… เพื่อเชื่อมต่อ Virtual Machine
  8. เมื่อ Connect ไปยัง Virtual Machine แล้วให้ทำการ Login เข้าระบบ
  9. ใช้ Linux Command ตรวจสอบ Network Adapter ของเครื่อง Guest Machine
    $ip a

    lo คือ localhost
    eth0 คือ Default Switch
    eth1 คือ Internal Virtual Switch
  10. ทำการ Configure eth1 โดยใช้ Linux Command
    $cd /etc/sysconfig/network-scripts/

    $cp ifcfg-eth0 ifcfg-eth1

    $vi ifcfg-eth1

    ทำการแก้ไขไฟล์ ifcfg-eth1
    $uuidgen eth1

    แก้ไขไฟล์ ifcfg-eth1 และนำ uuid ที่ generate ไปใส่ในส่วน UUID=”1d527…”
  11. Restart Network Device
    $ifdown eth1
    $ifup eth1
  12. ตรวจสอบว่า Network Adapter ว่า Active หรือไม่
    $nmcli d
  13. ทดสอบเชื่อมต่อ Host Machine ไปยัง Guest Machine โดยเปิด Windows Command Line แล้วใช้คำสั้ง ping
    #ping 169.154.1.10
  14. ทดสอบเชื่อมต่อด้วย PuTTy

    Click ที่ Yes

    Login เข้าสู่ Guest Machine

  15. จบการสาธิตการใช้งาน Internal Virtual Switch

สรุป

Internal Virtual Switch เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง Host OS ไปยัง Guest OS ผ่านระบบ Network จึงเป็นการเข้าถึง Resources บนเครื่องข่ายได้ สามารถนำไปประยุคทำระบบ เช่น Web Server, Database Server เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*